ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
Annelida มาจากภาษาละติน (annullus = little
ring) แปลว่า วงแหวนหรือปล้อง หมายถึง หนอนปล้อง
สัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา มีร่างกายที่ประกอบด้วยปล้อง (segment หรือ somite) แต่ละปล้องคล้ายวงแหวนเรียงต่อกันจนตลอดลำตัว
และแสดงการเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอก เช่น ลักษณะกล้ามเนื้อ ระบบประสาท
ระบบหมุนเวียนโลหิต อวัยวะขับถ่ายตลอดจนอวัยวะสืบพันธุ์ต่างก็จัดเป็นชุดซ้ำๆ
กันตลอดลำตัว และมีเยื่อกั้น (septum) กั้นระหว่างปล้อง
ทำให้ช่องตัว ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ด้วย สัตว์ในไฟลัมนี้ที่รู้จักมีประมาณ 15,000
สปีชีส์ มีขนาดยาวน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร จนยาวถึง 3 เมตร พบอยู่ทั้งในน้ำเค็ม
น้ำจืด และที่ชื้นแฉะ
ลักษณะที่สำคัญ
1. ร่างกายแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง
มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
2. เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ผนังร่างกาย
ประกอบด้วย เอพิเดอร์มิสซึ่งมีชั้นคิวติเคิลบางๆ ปกคลุมอยู่
ถัดเข้าไปเป็นชั้นกล้ามเนื้อวงกลม (circular muscle ) และกล้ามเนื้อชั้นในเป็นชั้นกล้ามเนื้อตามยาว
(longitudinal muscle)
3. มีรยางค์เป็นแท่งเล็กๆ เรียกว่า เดือย (setae)
เป็นสารไคติน (citin) เช่น ไส้เดือนดิน
มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่และการขุดรู ส่วนไส้เดือนทะเลมีเดือย
และแผ่นขาหรือพาราโพเดีย (parapodia) ยื่นออกมาทางด้านข้างของลำตัวใช้ในการเคลื่อนที่
แต่ปลิงไม่มีรยางค์ใดๆ
4. มีช่องตัวที่แท้จริง ช่องตัวถูกแบ่งออกเป็นห้องๆ
โดยมีเยื่อกั้น (septum) กั้นช่องตัวไว้
ภายในช่องตัวมีของเหลว (coelomic fluid) บรรจุอยู่ทำให้ร่างกายไม่แฟบ
5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดร่างกาย
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด (closed
circulatory system) น้ำเลือดมีสีแดง เพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่
7. หายใจผ่านทางผิวหนัง หรือเหงือก
8. ระบบขับถ่ายจะเป็นอวัยวะขับถ่าย ที่เรียกว่า
เนฟริเดีย (nephridia) อยู่ทุกปล้องๆ ละ 1 คู่
เนฟริเดียจะช่วยขับของเสียออกจากช่องตัวและกระแสโลหิตออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (nephridiopores)
9. ระบบประสาท ประกอบด้วย ปมประสาทสมอง (cerebral
ganglia) ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nerve
cord) ซึ่งทอดตามยาวของร่างกาย เส้นประสาทใหญ่ทางด้านหลังจะมีปมประสาทประจำปล้อง
(segment ganglia) ปล้องละ 1 ปม
10. หนอนปล้องบางชนิดเป็นกะเทย (hermaphrodite)
แต่มีการปฏิสนธิข้ามตัว เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด
พวกนี้มีการเจริญเติบโตโดยไม่ต้องผ่านระยะตัวอ่อน หนอนปล้องบางชนิดมีเพศแยกกัน(dioecious)
และการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต้องผ่านระยะตัวอ่อน ที่เรียกว่า
โทรโคฟอร์ (trochophore) เช่น แม่เพรียง เพรียงดอกไม้
ด้วยเหตุที่หนอนปล้องมีระยะตัวอ่อนโทรโคฟอร์ เช่นเดียวกับพวกมอลลัสก์ที่อยู่ในทะเล
ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 4 Class
1. Class Oligochaeta เช่น ไส้เดือนดิน
2. Class Polychaeta เช่น แม่เพรียง ไส้เดือนทะเล
3. Class Hirudinea เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงดูดเลือด
ปลิงควาย ปลิงเข็ม
4. Class Archiannelida เช่น แอนนีลิด ที่มีขนาดเล็กมาก
เรียกว่า หนอนทะเล
สัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดามีประโยชน์
1. ไส้เดือนที่อาศัยอยู่ในดินจะช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้ สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี
2. ไส้เดือนกินซากอินทรีย์ในดินช่วยให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินได้เร็ว
3. มูลของไส้เดือนมีแร่ธาตุอาหารให้พืชมาก จึงเป็นปุ๋ยให้พืชด้วย
1. ไส้เดือนที่อาศัยอยู่ในดินจะช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้ สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี
2. ไส้เดือนกินซากอินทรีย์ในดินช่วยให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินได้เร็ว
3. มูลของไส้เดือนมีแร่ธาตุอาหารให้พืชมาก จึงเป็นปุ๋ยให้พืชด้วย
โทษของสัตว์ในไฟลัมนี้
1. ปลิงน้ำจืด และทากบกดำรงชีวิตเป็นปรสิตภายนอกโดยดูดเลือดสัตว์อื่น
2. บุ้งทะเลอาจทำให้เกิดอาการเป็นผื่นแดงคันและเจ็บปวด
1. ปลิงน้ำจืด และทากบกดำรงชีวิตเป็นปรสิตภายนอกโดยดูดเลือดสัตว์อื่น
2. บุ้งทะเลอาจทำให้เกิดอาการเป็นผื่นแดงคันและเจ็บปวด
หนอนตัวกลม (Nematoda)
|
หนอนตัวกลมมีปล้อง (Annelida)
|
1.ลำตัวกลมไม่มีปล้อง
|
1.ลำตัวปลมและมีปล้องแบบแท้จริง
|
2.มีช่องตัวแบบเทียม
|
2.มีช่องตัวแบบแท้
|
3.ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด
|
3.มีระบบหมุนเวียนเลือด
|
4.ส่วนใหญ่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน
|
4.ส่วนใหญ่หายใจด้วยผิวลำตัว
|
5.เป็นสัตว์แยกเพศ
|
5.โดยมากเป็นกระเทยมีสองเพศ
|
6.ไม่มีเดือย
|
6.มีเดือย (Setae)
|
7.มีอวัยวะขับถ่ายเป็นเส้นข้างลำตัว
|
7.อวัยวะขับถ่ายเรียกเนฟริเดียอยู่ในแต่ละปล้อง
|
8.มีกล้ามเนื้อเฉพาะตามยาวของลำตัว
|
8.มีกล้ามเนื้อตามยาวและวงกลมรอบลำตัว
|
ตารางแสดง : การเปรียบเทียบลักษณะต่างๆของหนอนตัวกลม
ซึ่งอยู่ในไฟลัมเนมาโทดา กับหนอนตัวกลมมีปล้อง ซึ่งอยู่ในไฟลัมแอเนลิดา
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/kingdom_of_animalia/11.html
ที่มา : http://bio_up62.krubpom.com/6.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น