ไฟลัมคอร์ดาตา (PHYLUM CHORDATA)

ลักษณะสำคัญ
มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animal) มีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract)มีช่องว่างในลำตัวแบบแท้จริง (True coelom) มีระบบหมุนเวียนเลือดและเป็นแบบวงจรปิด (Close Circulatory System) มี Notochord เป็นแกนพยุงร่างกายซึ่งอาจจะมีในระยะตัวอ่อนหรือตลอดชีวิตก็ได้ แล้วมีกระดูกสันหลังมาแทนที่คือ มีไขสันหลัง (Nerve cord หรือ Spinal cord) ซึ่งเป็นเส้นประสาทอยู่ในหลอดกลวงของกระดูกสันหลัง ดังนั้นไฟลัมนี้จึงเป็นพวก Endoskeloton มีโครงร่างแข็งอยู่ภายใน มีระบบประสาทอยู่ด้านหลัง (Dorsal) อยู่เหนือทางเดินอาหาร มีช่องเหงือก (Gill slit) เป็นคู่ ๆ อยู่บริเวณคอหอย จะเห็นได้ชัดในระยะเอมบริโอ ในระยะต่อมาจะมีส่วนที่มาปิดช่องเหงือก ยกเว้นพวกปลา จะยังคงเห็นช่องเหงือกอยู่ แต่ปลาส่วนใหญ่ก็มีแผ่นแก้มมาปิดแต่ก็ยังคงมีช่องเหงือกอยู่ มีหัวใจอยู่ทางด้านท้อง (Ventral)

สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
          1. พวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เรียกว่า Protochordata
   - Sub-Phylum Urochordata มีลักษณะคือ ตัวอ่อนมี Notochord เป็นแกนของร่างกายอยู่บริเวณหาง และมีช่องเหงือก เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย ส่วนหางจะหลุดไป จึงไม่มี Notochord เหลืออยู่ ลักษณะที่สำคัญคือมีปลอกหุ้มอยู่รอบตัวเป็นสารจำพวกเซลลูโลส ได้แก่เพรียงลอย เพรียงหัวหอม เพรียงลา
   - Sub-Phylum Cephalochordata สัตว์จำพวกนี้มี Notochord ยาวตลอดลำตัว และยาวเลยไปถึงหัวด้วย และจะมีอยู่ตลอดชีวิต ได้แก่ แอมฟิออกซัส (Amphioxus)
          2. พวกที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ Sub-Phylum Vetebrata มีลักษณะสำคัญดังนี้
เป็นสัตว์ชั้นสูงมีจำนวนมาก มี Notochord ในระยะเอมบริโอ ต่อมามีกระดูกสันหลังมาแทนที่ (ยกเว้นปลาปากกลม) มีรยางค์ 2คู่(ยกเว้นปลาปากกลม) มีเม็ดเลือดแดง มีช่องเหงือกบริเวณคอหอย ในระยะตัวอ่อนแต่เมื่เจริญเติบโตขึ้นช่องเหงือกจะปิด และมีปอดขึ้นมาแทน

สามารถแบ่งได้ 7 Class
          1. Class Cyclostomata หรือ Class Agnatha ได้แก่ ปลาปากกลม พวกนี้ไม่มีขากรรไกร ลำตัวยาวคล้ายปลาไหล ขอบบนของปากและปลาลิ้นมีฟันเล็ก ๆ แหลมคมมากมาย ลำตัวนิ่ม ไม่มีเกล็ด ไม่มีครีบคู่เหมือนปลาทั่วไป เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีโนโตคอร์ดปรากฏอยู่ตลอดแม้ในระยะตัวเต็มวัย มีช่องเหงือก 7คู่ สำหรับหายใจ
           2. Class Chondricthyes ได้แก่ ปลากระดูกอ่อนทั้งหลาย มีช่องเหงือกเห็นชัดเจนจากภายนอก มีครีบคู่หรือครีบเดี่ยว มีเกล็ดลักษณะคล้ายจานยื่นออกมา ไม่มีกระเพาะลม มีปากอยู่ด้านท้อง มีการปฏิสนธิภายใน เป็นสัตว์เลือดเย็นเช่น ปลากระเบน ปลาฉลาม ปลาโรนัน ปลากระต่าย ปลาฉนาก
          3. Class Osteicthyes ได้แก่ปลากระดูกแข็งทั้งหลาย มีแผ่นแก้มปิดช่องเหงือกเอาไว้ มีเกล็ดบาง ๆ เรียงเหลื่อมกันคล้ายแผ่นกระเบื้องมุงหลังคา กระดูกภายในเป็นกระดูกแข็ง มีกระเพาะลม ปากอยู่ปลายสุดทางหัว ส่วนใหญ่ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เป็นสัตว์เลือดเย็น มีหัวใจ 2 ห้อง ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาทู ปลาตะเพียน ม้าน้ำ ฯลฯ
           4. Class Amphibian ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มี 4 ขา มี 5 นิ้ว ปลายนิ้วไม่มีเล็บ ตัวอ่อนอยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ตัวเต็มวัยอยู่บนบกหายใจด้วยปอด มีหัวใจ 3 ห้อง ออกไข่ในน้ำ ผิวหนังไม่มีเกล็ด ผิวหนังเปียกชื้น มีต่อมเมือก ผสมพันธุ์ภายนอก มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อการเจริญเติบโตเป็นสัตว์เลือดเย็น ได้แก่ คางคก เขียด อึ่งอ่าง ปาด กบ งูดิน ซาลาแมนเดอร์
           5. Class Reptilia ได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ในคลาสนี้เป็นสัตว์บก หรือวางไข่บนบก มี 4 ขา ปลายนิ้วมีเล็บ ผิวหนังมีเกล็ดแห้ง หายใจด้วยปอด มีอายุยืน มีหัวใจ 4ห้อง เป็นสัตว์เลือดเย็น มีวิวัฒนาการคือ มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ไข่มีเปลือกแข็งและเหนียว มีถุงแอลเลนทอยส์ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซขณะเจริญเติบโตในไข่ เช่น เต่า จระเข้ ตุ๊กแก จิ้งเหลน จิ้งจก งู กิ้งก่า ฯลฯ
            6. Class Aves ได้แก่ สัตว์ปีก เป็นสัตว์เลือดอุ่น ลำตัวมีขน (Feather) ปกคลุม ขามี 2ข้าง ปลานิ้วมีเล็บ ขาหน้าเปลี่ยนแปลงเป็นปีก กระดูกบางเป็นโพรง จึงมีน้ำหนักตัวเบา มีถุงลม () แทรกไปตามช่องว่างของลำตัว และตามโพรง ซึ่งทำให้มีอากาศมากพอที่จะหมุนเวียนใช้หายใจเวลาบิน มีหัวใจ 4 ห้อง ไข่มีเปลือก แข็งหุ้ม มีปริมาณไข่แดงมาก ไม่มีกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีต่อมเหงื่อ ไม่มีต่อมน้ำนม ปฏิสนธิภายใน ตัวเมียมีรังไข่ข้างเดียว เส้นประสาทสมองมี 12 คู่ เช่น นกประเภทต่าง ๆ ทั้งที่บินได้และบินไม่ได้
           7. Class Mammalia ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราเรียกสัตว์พวกนี้ว่า แมมมอล (Mammal) เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (Hair) คลุมตัว มี 4 ขา มีต่อมเหงื่อ และต่อมน้ำนม มีกระดูกคอ 7ข้อ มีฟันฝังในขากรรไกร มีกล่องเสียง มีกระบังลม หายใจด้วยปอด หัวใจมี 4 ห้อง เม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียส ลูกอ่อนเจริญภายในมดลูก สมองส่วนหน้าเจริญดี ได้แก่
   - ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด ออกลูกเป็นไข่
   - จิงโจ้ มีถุงหน้าท้อง
   - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ที่ตัวอ่อนมีรก (Placenta) เช่น ลิงกัง ลิงแสม ลิงชิมแปนซี ชะนี เสือ แมว สุนัข สุกร สิงโต หมาใน หมี พังพอน โค กระบือ ช้าง ม้า มนุษย์ หนู ค้างคาว นางอาย ปลาวาฬ โลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล ฯลฯ

ที่มา : https://sites.google.com/site/kingdomslearning/home/fi-lam-khxrd-a-ta-phylum-chordata

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น