ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
Mollusca มาจากภาษาละติน (molluscus
= soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึงลำตัวนิ่ม จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม
ซึ่งมักจะมีเปลือก (shell) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง
เป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) หรือบางชนิดเปลือกก็ลดรูปไปเป็นโครงร่างที่อยู่ภายในร่างกาย
สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา เรียกโดยทั่วไปว่า มอลลัสก์ (mollusk) ที่รู้จักกันดีได้แก่หอยกาบคู่
(clams) หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยงาช้าง
(tusk shell) หมึกต่าง ๆ เช่น หมึกกล้วย (squid) หมึกสายหรือหมึกยักษ์ (octopus) และลิ่นทะเล (chiton)
หรือเรียกว่าหอยแปดเกล็ด ซึ่งปัจจุบันพบสัตว์ในไฟลัมนี้มากกว่า 150,000 สปีชีส์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม และมีบางส่วนอยู่ในน้ำจืด และบนบก
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral
symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 3
ชั้น ช่องตัวเป็นแบบแท้จริง (Eucoelomate animal)
3. ลำตัวอ่อนนุ่มไม่มีปล้องโดยทั่วไปแล้วมีแมนเทิล
(mantle) ทำหน้าที่ในการสร้างเปลือกซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูน (CaCO3) แต่บางชนิดอาจไม่มีเปลือกเช่น
พวกทากทะเล
4. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์มีปากและมีทวารหนัก
แต่ทางเดิน อาหารมักจะขดเป็นรูปตัว (U) ในช่องปากมักมีแรดูลา
(Radula) ซึ่งเป็นสารจำพวกไคติน (Chitin) ช่วยในการขูดและกินอาหาร (ยกเว้นพวกหอย 2ฝา ไม่มีแรดูลา)
นอกจากนี้ยังมีน้ำย่อยที่สร้างจาก ตับและต่อมน้ำลายช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
5. ระบบหายใจ
พวกที่อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ส่วนพวกที่อยู่บนบกหายใจด้วยปอด ซึ่ง
เปลี่ยนแปลงมาจากช่องของแมนเติลหรืออาจใช้แมนเทิลและผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อการหายใจ
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open
circulatory system) ซึ่งหมายถึงเลือดไม่ได้อยู่ภายในเส้นเลือดตลอดเวลา
แต่มีบางระยะเลือดไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัวแล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก
หัวใจของพวกมอลลักมี 2-3
ห้องทำหน้าที่รับส่งเลือดในน้ำเลือดมีสารฮีโมไซยานิน (hemocyanin) ซึ่งมีธาตุทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบอยู่หรือฮีโมโกลบิน
(hemoglobin) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ช่วยในการลำเลียงออกซิเจน
7. ระบบขับถ่าย ประกอบด้วยไต
หรือเมตรเนพฟริเดีย 1 คู่ ซึ่งเชื่อมต่อกับช่องลำตัว
ท่อของไตจะมีหลายแบบและทำหน้าที่ ในการปล่อยสเปอร์มและไข่
8. ระบบประสาทโดยทั่วไปประกอบด้วยปมประสาท
3 คู่ คือ ปมประสาทที่หัว (cerebral ganglion) ควบคุมการทำงานของ อวัยวะที่ส่วนหัว ปมประสาทที่เท้า (pedal
ganglion) ควบคุมอวัยวะที่ เท้า (foot) และการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่
ปมประสาทที่อวัยวะภายใน (Visceral ganglion) ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆปมประสาททั้ง
3 ส่วนจะทำงานประสานกัน
โดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงจากปมประสาทที่หัวไปยังปมประสาทที่เท้าและอวัยวะภายในด้วย
9. ระบบสืบพันธุ์
โดยทั่วไปแล้วเป็นสัตว์แยกเพศ ตัวผู้และตัวเมียแยกกันมีบางชนิด เช่น
หอยทากเปลี่ยนเพศได้ (protandichermaphrodite) การปฏิสนธิมีทั้งภายนอกและภายใน
ร่างกาย โดยทั่วไปแล้วออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว
10. ร่างกายของมอลลัสก์อ่อนนุ่มไม่แบ่งป็นปล้อง
ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
10.1 ส่วนหัว (head) บางชนิด เช่น หอยฝาเดียว หมึก
ส่วนหัวเจริญดีมาก มีตาและหนวดช่วยในการรับสัมผัส
แต่พวกหอยสองฝาส่วนหัวจะไม่ค่อยเจริญ
10.2 ส่วนเท้า (foot) เป็นกล้ามเนื้อช่วยให้หอยเคลื่อนที่อยู่ด้านท้อง
(ventral)
10.3 อวัยวะภายใน (visceral mass) เป็นส่วนบริเวณอวัยวะภายในที่อยู่บริเวณกลางๆ
ลำตัวและภายในส่วนของเท้า
10.4 แมนเทิล (mantle) เป็นเยื่อบางๆ
ที่ปกคลุมลำตัวและติดต่อกับพื้นด้านในของกาบหรือเปลือก
แมนเทิลช่วยในการสร้างกาบและเปลือกหอย
การจัดจำแนก
ไฟลัมมอลลัสกา แบ่งออกเป็น 6 คลาส
1. Class Monoplacophora ได้แก่ หอยฝาละมี
(Neopilina sp.) มีกาบอันเดียวคล้ายฝาชีคลุมแมนเทิล
เท้าแบนกว้าง ในตอนแรกกเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปแล้วเพราะพบแต่ซากโบราณ จนกระทั่ง ปี
ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) จึงมีผู้พบหอยฝาละมีที่ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก
และเชื่อกันว่าหอยฝาละมีเป็นตัวเชื่อมวิวัฒนาการระหว่างไฟลัมมอลลัสกากับไฟลัมแอนเนลิดา
เนื่องจากหอยฝาละมีมีลักษณะเป็นปล้องแต่ปรากฏเฉพาะภานในเท่านั้น
2. Class Polyplacophora or Amphineura ได้แก่
ลิ่นทะเล (chiton) หรือหอยแปดเกล็ด อาศัยอยู่ตามซอกหิน
ลำตัวกลมรี ทางด้านหลังมีเกล็ดเรียงติดกัน 8 แผ่น
มีเท้าแบนกว้างช่วยในการยึดเกาะกับก้อนหิน ไม่มีหนวดไม่มีตา
แต่มีเหงือกจำนวนมากอยู่ในช่องแมนเทิล ภานในปากมีแรดูลา (radula) ช่วยในการบดอาหาร
ภาพลิ่นทะเล
3. Class Gastropoda ได้แก่
พวกหอยกาบเดี่ยว หรือ หอยฝาเดี่ยว (univalve) ทั้งหลาย
มีทั้งที่อาศัยอยู่บนบก น้ำจืด และน้ำเค็ม
หอบกาบเดี่ยวจัดว่าเป็นพวกที่มีวิวัฒนาการดีมากและมีจำนวนมากทีสุดคือประมาณ 40,000 ชนิด เป็นมอลลัสก์ที่ส่วนหัวเจริญดีมาก มีตา มีหนวด 1 – 2 คู่ ส่วนเท้ามีขนาดใหญ่ใช้คลานหรือยึดเกาะ เช่น หอยโข่ง หอยขม หอยสังข์
หอยทาก หอยเต้าปูน หอยนมสาว ส่วนที่ไม่มีเปลือก ได้แก่ ทากเปลือย (nudibranch)
ภาพหอยฝาเดี่ว
4. Class Pelecypoda ได้แก่ พวกหอยกาบคู่
หรือ หอย 2 ฝา (bivalve) ทำหน้าที่เป็นอวัยวะปกคลุมร่างกาย
ฝาทั้งสองยึดกันด้วยเอ็น ligament ลักษณะของกาบจะแตกต่างกันไป
แล้วแต่ชนิด แต่โดยทั่วไปกาบหอยมักมีส่วนยืดออกมาทางด้านหลังเรียกว่า umbo พวกหอยกาบคู่ส่วนหัวไม่ค่อยเจริญ
ส่วนใหญ่ไม่มีตา ไม่มีหนวด
เท้ามีลักษณะคล้ายลิ่มใช้เคลื่อนที่ขุดหรือเจาะดิน ปากไม่มี radula บริเวณปากมี labial pulp ทำหน้าที่ในการปัดอาหารเข้าปาก
มีเหงือก 2 คู่ และแยกเพศกัน หอยกาบ๕มีประมาณ 20,000 ชนิด และเป็นหอยทีมีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่
หอยมุก หอยมือเสือ หอยแครง หอยพัด หอยกาบน้ำจืด เป็นต้น
ภาพหอยสองฝา
5. Class Scaphopoda ได้แก่ หอยงาช้าง (tooth
shell) อาศัยโดยการขุดพื้นทรายในทะเลอยยู่ เปลือกมีลักษณะเรียวยาวโค้งคล้ายงาช้าง
และมีปลายเปิดทั้งสองด้าน ร่างกายเรียวยาวอยู่ภายในเปลือก ส่วนหัวไม่เจริญ
ในปากมีแรดูลา ไม่มีเหงือก หายใจด้วยแมนเทิล มีเท้าแหลมสำหรับขุดฝังลำตัวลงในดิน
เป็นสัตว์แยกเพศ
6. Class Cephalopoda ได้แก่ พวกหมึก
และหอยงวงช้าง (nautilus) เป็นกลุ่มที่มีการเจริญดีมาก
โดยส่วนหัวประกอบด้วยตาที่มีประสิทธิภาพสูง มองเห็นได้ดี
มีหนวดขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากส่วนเท้า ที่หนวดมีปุ่มดูด(sucker) ช่วยในการจับเหยื่อ นอกจากนี้ยังมีไซฟอน (siphon) ซึ่งเป็นทางน้ำออก
ช่วยขับให้หมึกเคลื่อนที่แบบ jet หมึกกล้วย (squid) มีโครงภายในเป็นแผ่นใสๆ เรียกว่า เพน (pen) หมึกกระดอง
(cuttle fish) มีแผ่นหินปูนสีขาวขนาดใหญ่เรียกว่าลิ้นทะเลอยู่ภายในตัว
หมึกสายหรือหมึกยักษ์ (octopus) ไม่มีโครงร่างเลย
ส่วนหอยงวงช้างมีเปลือกขนาดใหญ่อยู่ทางด้านนอกและเปลือกแบ่งออกเป็นห้องๆ
ช่วยให้หอยงวงช้างลอยตัวได้เมื่อในห้องว่างเปล่า
และจะจมตัวเมื่อภายในห้องมีน้ำเต็ม ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งที่นำไปสร้างเรือดำน้ำ
ประโยชน์
1. หอยและหมึกใช้บริโภคเป็นอาหาร
2. หอยนางรม สามารถนำไปสกัดน้ำมันซึ่งมีราคาสูงและรสชาติดี
3. หอยมุก ให้มุกซึ่งมีความสวยงามใช้ในการทำเครื่องประดับ
4. เปลือกหอมีแคลเซียมสูง
เมื่อนำมาบดให้ละเอียดและผสมอาหารให้พวกเป็กไก่กินช่วยให้เปลือกไข่สวย
5. หอยสังข์แตรเป็นผู้ล่าดาวมงกุฎหนามซึ่งทำลายและกินปะการัง
โทษ
1. หอยเต้าปูนเป็นพิษ
2. หอยมือเสือหนีบเท้านักดำน้ำให้ตายได้
3. หอยทากทำลายพืช
4. หอยน้ำจืดเป็นพาหะนำพยาธิใบไม้
ที่มา : http://bio_up62.krubpom.com/4.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น